Inside out
Pixar (พิกซาร์)
ถือว่าเป็นหนึ่งในค่ายอนิเมชั่นที่ผมชอบที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะหนังอนิเมชั่นของ Pixar
แต่ละเรื่องจะถูกกล่าวขวัญว่าไม่ใช่แค่การ์ตูนเด็กดู
เพราะเป็นการ์ตูนที่เด็กก็ดูสนุก ผู้ใหญ่ก็ดูแล้วได้แง่คิดนั่นเอง และพอมาพูดถึง Inside
Out ถือว่าเป็นหนึ่งในหนังที่ผมคาดหวังไว้สูงมาก จากหลายๆ ปัจจัยใจ
เพราะถ้าคุณเป็นนแฟน Pixar แล้วละก็จะรู้สึกได้เลยว่า Pixar
เป๋ มาหลายปีแล้ว เริ่มจากความวินาศสันตโรที่ Cars 2
ทำไว้ในปี 2011 ที่สร้างจุดด่างพร้อยให้แก่ค่าย
ได้คะแนนวิจารณ์ห่วยเป็นประวิติการณ์ ต่อด้วย 2012 ที่ Brave เปิดตัวเจ้าหญิงคนแรกของ
Pixar ถึงแม้จะได้ Oscar มากอด
แต่ก็เรียกได้ว่าเสียงออกมาค่อนข้างก้ำกึ่ง เพราะหลายเสียงก็เทไปให้ Wreck-It
Ralph ด้วย แต่ส่วนตัวผมก็อินกับ Brave นะ
แต่ก็ถือว่าคุณภาพดรอปลงไปหน่อยจริงๆ มาต่อด้วยปี 2013 กับ Monsters
University ที่เป็นเรื่องช็อควงการ
เพราะไม่ได้แม้แต่เข้าชิง Oscar !! หลายๆ เสียง (รวมถึงผม)
ก็พิศวงงงงวยไปตามๆ กัน เพราะว่ากันที่ตัวผลงานก็ไม่ได้แย่
และคิดว่าดีกว่าบางเรื่องที่เข้าชิงในปีนั้นเสียด้วย แต่ถ้าว่ากันตาม
“มาตรฐานค่าย” แล้ว ผมก็รู้สึกเช่นกันว่า ยังไม่ถึงขั้น บวกกับเนื้อเรื่องแนว High-school
ที่ดูเกร่อในตลาดอเมริกันเสียเหลือเกิน ผมจึงมีทฤษฎีสบคมคิดว่า
นี่คือการลงโทษจากกรรมการ Oscar หรืออย่างไร อารมณ์ประมาณว่า
คุณกลับไปขัดเกลาผลงานมาให้ดีแบบเดิมให้ได้ก่อน ฉันจึงจะให้เข้าร่วม... มาในปี
2014 ทาง Pixar เลยไม่ส่งอนิเมชั่นมาให้ดูเสียเลยเพราะน้อยใจ...
ฮือๆ ใช่ที่ไหนล่ะ... ดูเหมือนจะทำไม่ทันละมั้ง จากความเป๋ต่อเนื่องมาตลอด 4
ปีนี่เอง หลังจากจากปล่อยทีเซอร์ออกมา แล้วดูมีแมว ที่ทำให้ผมคาดหวังสุดฤทธิ์
ดูมันทุก Trailer ทุก Short Clip จนจะปะติปะต่อเรื่องเองอยู่แล้ว
อ่านคำวิจารณ์จากคานส์ ก็ Hype ตัวเองสุดฤทธิ์.... คาดหวังสุดๆ
พอหลังจากหนังเข้าวันที่ 19 มิถุนายน ณ อเมริกิ้ว ผมก็ได้พุ่งตัวเข้าไปในโรงทันที
ประโยคเปิดของเรื่อง และคงจะเป็นประโยคคำถาม ที่ Pete Docter ผู้กำกับ และผู้เขียนบทเรื่องนี้ โยนตู้มใส่ทีมงานเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ถึงเรื่องการพยายามทำความเข้าใจกับเสียงในหัวจะไม่ใช่เรื่องใหม่ เรามักจะแซวกันตลอดว่ามีนางฟ้ากับตัวมารอยู่ในตัวเราเสมอ แต่การนำมันมาขยายความและสร้างเป็นอนิเมะชั่นเรื่องยาว ก็ถือว่าแปลกใหม่ทีเดียว หลังจากที่ Pete Docter ได้ไอเดียเรื่องนี้ เค้าได้ปรึกษากับนักจิตวิทยา ผู้ศึกษาเรื่องอารมณ์อย่าง Paul Ekman ทำให้ทราบว่ามนุษย์เรามีอารมณ์หลักๆ อยู่ 6 แบบด้วยกัน คือ ความกลัว (Fear), ความประหลาดใจ (Surprise), ความขยะแขยง (Disgust), ความสุข (Joy), ความเศร้า (Sadness), ความโกรธ (Anger) อย่างไรก็ตามพีทมองว่าความประหลายใจ และความกลัวมีความใกล้กันจนเกินไป จึงตัดเหลือแค่ 5 ตัว นำมาพัฒนาตัวละครต่อไป
ในเรื่องนี้เราจะได้พบกับตัวเอกคือ Riley (ไรลีย์)
เด็กสาวอายุ 11 ปี ผู้มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ
แถมเป็นนักกีฬาฮอกกี้ตัวเก่งของโรงเรียน แต่ใครจะรู้ว่าในหัวของเธอนั้น
ประกอบด้วยตัวเอกเล็กๆอีก 5 ตัวคือ Joy,
Sadness , Anger, Disgust และ Fear แม้ว่าจะมีอารมณ์ถึง 5 อารมณ์ แต่คนที่คอยควบคุมความรู้สึกและการกระทำส่วนมากของ
Riley ก็คือ
Joy คอยทำให้เธอเป็นเด็กที่สดใส
มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ในทุกการกระทำของ Riley จะถูกเก็บเป็นลูกบอล “ความทรงจำ” (Memory) ความทรงจำเหล่านี้เมื่อหมดวันจะถูกเก็บไปยังส่วนของ
“ความทรงจำระยะยาว” (Long-term
memory) และในบางครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ
ในชีวิตลูกบอลที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า “ความทรงจำหลัก” (Core memory) และเหล่า
Core memory นี้เอง
ที่จะถูกพัฒนาให้กลายเป็นบุคคลิกภาพประจำตัว (Personality) ต่อไป ซึ่งในเรื่องนั้น Core memory เหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็นเกาะ
เพื่อแทนบุคคลิกภาพในแต่ละแง่มุม เช่นเกาะฮอคกี้เมื่อ Riley ทำประตูแรกได้เมื่อตอนเป็นเด็ก
ทำให้เธอชอบเล่นฮอกกี้ตั้งแต่นั้นมา
หรือเกาะแห่งมิตรภาพที่แทนถึงเพื่อรักของเธอที่สนิทกันมาตั้งแต่เด็ก
ชีวิตของเธอมีแต่ความสุข (เป็นส่วนมาก) แม้กระทั้ง Joy เองก็ไม่คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเธอได้
จนกระทั้ง เธอต้องย้ายบ้าน…
เมื่อความสุข ปะทะ กับความเศร้า
แน่นอนว่าภายใต้การควบคุมของ Joyนั้น ทำให้ลูกบอลความทรงจำของ Riley เต็มไปด้วยลูกบอลสีทองแห่งความสุข การนึกถึงความทรงจำบางเก่าๆ ก็ทำให้มีเรื่องเล่าสนุกๆ มาเล่าให้กันฟังได้เสมอ และปัญหาคงจะไมเกิดขึ้นเลย ถ้า “Sadness” หรือ “ความเศร้า” มีความอยากรู้อยากเห็น และมือบอนเกินกว่าอารมณ์อื่นๆ ทำให้เธอเผลอไปแตะบอลที่เคยเป็นสีทอง แต่บัดนี้มันถูกย้อมด้วยสีน้ำเงินแห่งความเศร้า แน่นอนว่ามันได้ส่งผลไปถึงอารมณ์ของ Riley ด้วย ความทรงจำที่เคยคิดว่ามันสนุกกลับกลายเป็นความทรงจำที่เศร้าเพราะคงไม่ได้เจอเหตุการณ์ที่สนุกแบบนั้นอีกแล้วในเมืองนี้ เหตุการณ์นี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ของเหล่าอารมณ์ที่เหลือ เพราะพวกเค้ายังหาวิธีย้อมความทรงจำกลับให้เป็นแบบเดิมไม่ได้ และนั้นหมายความว่าเมื่อ Riley นึกถึงความทรงจำนี้ ก็จะกลายเป็นความเศร้าแทนที่ความสุขนั่นเอง และเหตุการณ์ก็เลวร้ายยิ่งขึ้นเมื่อ Sadness ได้ไปยุ่งกับความทรงจำระหว่างที่ Riley กำลังแนะนำตัวต่อหน้าชั้นเรียนในฐานะนักเรียนใหม่ ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดคือ Core Memory สีน้ำเงินได้ถูกสร้างขึ้นเพราะ Riley ได้ร้องให้ต่อหน้าคนในชั้นเรียนนั่นเอง แน่นอนว่า Joy ผู้ต้องการให้ ไรลีย์มีความสุข ไรลีย์มีความความสุข (อะไรนะ ไม่ใช่ Marry is happy เร๊อะ ?) ได้ทำการขัดขวางไม่ให้ความทรงจำสีน้ำเงินนี้ถูกนำไปสร้างเป็นบุคลิกภาพของ Riley แต่ Sadness เองก็ไม่ยอมเช่นกัน ยื้อแย่งกันไปมาสุดท้ายความทรงจำหลักได้กระจัดกระจายออก ทำให้แต่ละเกาะกลายเป็นสีเทาขาดชีวิตชีวาไปในทันที แต่เท่านั้นยังไม่พอ สุดท้าย Sadness กับ Joyก็ถูกดูดผ่าน “ท่อแห่งการนึกถึง” (Recall tube) เชื่อมไปยังที่เก็บความทรงจำระยะยาวนั่นเอง เป็นจุดเริ่มต้นของการหาทางกลับมายังสำนักงานใหญ่ (Headquarter)
คุณเคยมองใครซักคนแล้วสงสัยหรือเปล่า ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในหัวของเค้า ?
“Do you ever look at someone and wonder what is going on inside their head?”
ประโยคเปิดของเรื่อง และคงจะเป็นประโยคคำถาม ที่ Pete Docter ผู้กำกับ และผู้เขียนบทเรื่องนี้ โยนตู้มใส่ทีมงานเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ถึงเรื่องการพยายามทำความเข้าใจกับเสียงในหัวจะไม่ใช่เรื่องใหม่ เรามักจะแซวกันตลอดว่ามีนางฟ้ากับตัวมารอยู่ในตัวเราเสมอ แต่การนำมันมาขยายความและสร้างเป็นอนิเมะชั่นเรื่องยาว ก็ถือว่าแปลกใหม่ทีเดียว หลังจากที่ Pete Docter ได้ไอเดียเรื่องนี้ เค้าได้ปรึกษากับนักจิตวิทยา ผู้ศึกษาเรื่องอารมณ์อย่าง Paul Ekman ทำให้ทราบว่ามนุษย์เรามีอารมณ์หลักๆ อยู่ 6 แบบด้วยกัน คือ ความกลัว (Fear), ความประหลาดใจ (Surprise), ความขยะแขยง (Disgust), ความสุข (Joy), ความเศร้า (Sadness), ความโกรธ (Anger) อย่างไรก็ตามพีทมองว่าความประหลายใจ และความกลัวมีความใกล้กันจนเกินไป จึงตัดเหลือแค่ 5 ตัว นำมาพัฒนาตัวละครต่อไป
เมื่อความสุข ปะทะ กับความเศร้า
แน่นอนว่าภายใต้การควบคุมของ Joyนั้น ทำให้ลูกบอลความทรงจำของ Riley เต็มไปด้วยลูกบอลสีทองแห่งความสุข การนึกถึงความทรงจำบางเก่าๆ ก็ทำให้มีเรื่องเล่าสนุกๆ มาเล่าให้กันฟังได้เสมอ และปัญหาคงจะไมเกิดขึ้นเลย ถ้า “Sadness” หรือ “ความเศร้า” มีความอยากรู้อยากเห็น และมือบอนเกินกว่าอารมณ์อื่นๆ ทำให้เธอเผลอไปแตะบอลที่เคยเป็นสีทอง แต่บัดนี้มันถูกย้อมด้วยสีน้ำเงินแห่งความเศร้า แน่นอนว่ามันได้ส่งผลไปถึงอารมณ์ของ Riley ด้วย ความทรงจำที่เคยคิดว่ามันสนุกกลับกลายเป็นความทรงจำที่เศร้าเพราะคงไม่ได้เจอเหตุการณ์ที่สนุกแบบนั้นอีกแล้วในเมืองนี้ เหตุการณ์นี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ของเหล่าอารมณ์ที่เหลือ เพราะพวกเค้ายังหาวิธีย้อมความทรงจำกลับให้เป็นแบบเดิมไม่ได้ และนั้นหมายความว่าเมื่อ Riley นึกถึงความทรงจำนี้ ก็จะกลายเป็นความเศร้าแทนที่ความสุขนั่นเอง และเหตุการณ์ก็เลวร้ายยิ่งขึ้นเมื่อ Sadness ได้ไปยุ่งกับความทรงจำระหว่างที่ Riley กำลังแนะนำตัวต่อหน้าชั้นเรียนในฐานะนักเรียนใหม่ ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดคือ Core Memory สีน้ำเงินได้ถูกสร้างขึ้นเพราะ Riley ได้ร้องให้ต่อหน้าคนในชั้นเรียนนั่นเอง แน่นอนว่า Joy ผู้ต้องการให้ ไรลีย์มีความสุข ไรลีย์มีความความสุข (อะไรนะ ไม่ใช่ Marry is happy เร๊อะ ?) ได้ทำการขัดขวางไม่ให้ความทรงจำสีน้ำเงินนี้ถูกนำไปสร้างเป็นบุคลิกภาพของ Riley แต่ Sadness เองก็ไม่ยอมเช่นกัน ยื้อแย่งกันไปมาสุดท้ายความทรงจำหลักได้กระจัดกระจายออก ทำให้แต่ละเกาะกลายเป็นสีเทาขาดชีวิตชีวาไปในทันที แต่เท่านั้นยังไม่พอ สุดท้าย Sadness กับ Joyก็ถูกดูดผ่าน “ท่อแห่งการนึกถึง” (Recall tube) เชื่อมไปยังที่เก็บความทรงจำระยะยาวนั่นเอง เป็นจุดเริ่มต้นของการหาทางกลับมายังสำนักงานใหญ่ (Headquarter)
ความโศกเศร้าที่ไม่จำเป็น ?
ตลอดทั้งเรื่องที่ผ่านมา Joyได้กระทำกับ
Sadness ประหนึ่งว่าเป็นอารมณ์ที่ไม่จำเป็นสำหรับ
Riley เริ่มจาก
Joyมอบหมายหน้าที่ให้กับทุกอารมณ์
เช่น ให้ Fear หารายการความเป็นไปได้ที่จะเกิดเรื่องแย่ๆ
กับ Riley ให้
Disgust ทำให้
Riley โดดเด่นในชั้นเรียน
แต่กลับกันนั้น Joy ได้มอบหมายให้
Sadness อยู่ในวงกลมแห่งความเศร้า
(Circle of Sadness) ที่
Joyใช้ชอล์กเขียนขึ้นเอง
ซึ่งก็แปลง่ายๆว่าอย่าไปยุ่งกับส่วนอื่นๆ เชียวนะ ! (ใจร้าย ~)
ในระหว่างการเดินทางเพื่อหาทางกลับไปสู่สำนักงานใหญ่ Joyและ Sadness ได้พบกับ Bing Bong (บิงบอง)
เพื่อนในจินตนาการของ Riley
ที่คิดว่าตัวเองคงถูกไลรีย์ลืมไปแล้ว แต่ Joy ก็ได้ให้คำมั่นว่าจะทำให้ไลรีย์จำเค้าให้ได้
ทำให้ Bing Bong กลับมามีความหวังว่าจะได้นั่งจรวด
(ของเล่น) ไปยังดวงจันทร์ (ในจินตนาการ) กับ Riley อีกครั้ง แต่เหตุการณ์ก็ไม่เป็นดังหวังเมื่อ Bing Bong ถูกเหล่าผู้เก็บกวาดความทรงจำโยนจรวดของเค้าทิ้งลงในหลุมขยะความทรงจำ
(Memory Dump) Bing Bong ช็อคอย่างมากเพราะเค้าจะไม่มีโอกาสได้ไปดวงจันทร์พร้อมกับ
Riley อีก
Joy เห็นแบบนั้นจึงพยายามที่จะ
ให้กำลังใจด้วยการทำท่าตลกๆ แต่ใจจริงๆ ของ Joy คือกลัวจะไปขึ้นรถไฟแห่งความนึกคิด (Train of Thought) เพื่อที่จะกลับไปสำนักงานใหญ่ไม่ทัน
จึงพยายามรีบให้ Bing
Bong ดีขึ้นและนำทางต่อ ไม่ว่าจำทำยังไง Bing Bong ก็ไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้นเลย
จน Sadness ได้ลองไปนั่งข้างๆ
Bing Bong (แน่นอนว่า Joyต้านสุดฤทธิ์
– อย่าทำให้เค้ารู้สึกแย่ไปกว่านี้สิ) Sadness ไม่ได้พูดให้กำลังใจ
แต่กลับกัน Sadness กลับพูดอย่าง
“เข้าใจ” ว่า “เค้ามาเอาสิ่งที่เรารักไป มันเศร้าเนอะ…” สุดท้าย Bing Bong จึงได้ร้องให้กอด
Sadness ไว้แน่น
แต่หลังจากนั้น Bing Bong
ก็โอเคขึ้นและพร้อมเดินทางต่อ Joy ที่มองโลกด้วยแง่มุมของตัวเองมาตลอด
กลับรู้สึกประหลาดใจอย่างมาก ว่าทำไมความเศร้าถึงทำให้คนรู้สึกดีขึ้นได้
เธอทำได้ยังไง ? คำถามเล็กๆ
ของ Joy ที่เริ่มทำให้เธอมองความเศร้าในแง่มุมต่างจากเดิมเล็กน้อย…
แต่เมื่อถึงคราวจำเป็นที่ Joy
และ Sadness ต้องใช้ Recall tube เพื่อกลับไปยังสำนักงานใหญ่
ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือถ้า Joyให้
Sadness มาด้วย
Core memory ที่อยู่ในถุงก็จะถูกย้อมด้วยสีน้ำเงินแห่งความเศร้า
สิ่งที่ Joy ตัดสินใจคือทิ้ง
Sadness ไว้เบื่องหลัง…
“I’m sorry, Riley need to be happy”
การกลับไปยังสำนักงานใหญ่ด้วย Recall tube ล้มเหลว
ยิ่งไปกว่านั้น Bing Bong
และ Joy ตกสู่หลุมขยะความทรงจำอีกด้วย Joyที่พยายามปีนขึ้นจากหลุมด้วยตัวเองกลิ้งครั้งแล้วครั้งเล่า
จน Bing Bong ก็บอกให้พอเถอะ…
เราคงจะถูกลืมอยู่ที่นี่ Joy ได้ปลงตกและหยิบความทรงจำเก่าๆ
ที่ถูกทิ้งของ Riley ขึ้นมาดู
พร้อมกับน้ำตาที่เอ่อล้นขึ้นมาว่า “ทำไมล่ะ…
ชั้นก็แค่อยากให้ไรลีย์มีความสุขแค่นั้นเอง” ในกองของความทรงจำนั้นเองน้ำตาของ Joyได้หยดไปบนความทรงจำลูกหนึ่ง
ซึ่งความทรงจำนี้เอง เป็นความทรงจำที่ ในมุมของ Joy คือการการมีพ่อ
แม่และคนในทีมฮอกกี้มารายล้อมเป็นความทรงจำแห่งความสุข แต่ในมุมของ Sadness ที่เคยพูดถึงมาก่อนคือในวันนั้น
Riley พลาดช็อตสำคัญ
ทำให้ทีมแพ้ เป็นวันแห่งความเศร้า การที่พ่อ, แม่และทีมมาหา Riley ไม่ได้มาแสดงความยินดีเพราะ “ความสุข”
แต่มาช่วยให้กำลังใจเพราะ ”ความเศร้า” ต่างหาก
ในตอนนั้นเองเหมือนมีใครมาเปิดสวิทไฟในตัว Joy ตอนนี้เธอเข้าใจแล้วว่าสิ่งที่จำเป็นต่อ Riley ไม่ได้มีแค่ความสุขเพียงอย่างเดียว
ความเศร้าด้วยก็เช่นกัน
สิ่งนี้เห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อในฉากสุดท้ายของเรื่องที่ Riley ได้กลับมาจากการพยายามหนีออกจากบ้าน
Joy ยอมให้
Sadness เป็นคนควบคุมการกระทำทั้งหมด
รวมถึงการนำความทรงจำหลักขึ้นไปฉายอีกครั้ง
ความทรงจำหลักทั้งหมดที่เคยเป็นความทรงจำที่มีความสุข
บัดนี้ถูกย้อมให้เป็นความเศร้า ความคิดถึง ความคิดถึงบ้านเก่า คิดถึงเพื่อนเก่า
คิดถึงทีมเก่า คิดถึงโรงเรียนเก่า Riley
ร้องให้และระบายความในใจให้พ่อกับแม่ฟัง
และขอร้องว่าจะว่าหนูเลย สุดท้ายครอบครัวก็ได้กอดกันอย่างเข้าใจ และในตอนั้นเอง Sadness ได้จับมือ
Joyเพื่อให้มาควบคุมอารมณ์ของ
Riley ด้วยกัน
ในความเศร้า มันก็ยังมีความสุขอยู่ด้วยใช่ไหม…. แม้ร้องให้อยู่ก็ยังยิ้มได้ใช่ไหม
น้ำตาแห่งความสุขของ Riley
ไหลลง พร้อมกับ Core memory ได้ถูกสร้างขึ้น
ความทรงจำมีที่มีทองและสีน้ำเงินอย่างละครึ่ง
ความทรงจำที่มีทั้งความสุขและความเศร้า…
เรียนรู้ ยอมรับ และเติบโต
สิ่งที่ต้องชมอย่างแรกเลยคือความคิดสร้างสรรค์ของทีมงาน
ที่สามารถนำเอาเรื่องในหัวอย่างอารมณ์มาแสดงออกได้อย่างสร้างสรรค์สุดๆ
ปมความขัดแย้งระหว่างอารมณ์อย่าง Joy
และ Sadness หรือความสุขกับความเศร้า
นั้นถูกขับออกมาได้อย่างน่าสนใจ เราคงจะเคยคิดเหมือนเหมือนกันว่าความสุขเป็นเป็นสิ่งดี
ความเศร้าเป็นสิ่งไม่ดี แล้วเราจะมีความเศร้าไปทำไมกันนะ ?? แต่ก็นั่นแหละความเศร้าที่ใครๆ
ก็เห็นว่าไม่เป็นจำเป็น ในบางเวลากลับเป็นสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด
จะเศร้าบ้างก็ได้ และในทางกลับกันความสนุกสนานก็ไม่ได้สามารถใช้แก้ทุกปัญหาเช่นกัน
ในการแก้ปัญหานั้นบางครั้งเราก็ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย
เมื่อเรียนรู้ถึงสิ่งนี้ได้ เราก็พร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ความขัดแย้งนี้ถูกโยงไปยังการก้าวข้ามผ่านวัย (Coming of Age) ของเด็กสาวคนหนึ่ง
เมื่อเราเป็นเด็กเรายังคงแสดงอารมณ์ได้ไม่ซับซ้อนนัก แสดงออกมาอย่างตรงไปตรงมาก
สุข, เศร้า, เหงา, โกรธ
แต่เมื่อเราโตขึ้นการแสดงอารมณ์ก็ซับซ้อนขึ้นตาม
ดั่งจะเห็นได้จากตอนช่วงสุดท้ายของเรื่องที่มีการสร้างที่ควบคุมอารมณ์ใหม่เพื่อให้เราสามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างซับซ้อนมากขึ้น
มี Core Memory แบบผสมมากมาย
ขยะแขยง-กลัว, โกรธ-มีความสุข
หรือโกรธ-เศร้า สิ่งที่เด่นชัดอีกอย่างก็คือ การที่ Bing Bong ถูกทิ้งไว้เบื้องหลังเพื่อให้
Joy ขึ้นหน้าผาได้
เปรียบเสมือนการเติบโตของ Riley
ที่คงไม่ได้นึกถึงเพื่อนในจินตนาการอีกต่อไป
ทางด้านของ Riley เอง ตอนที่ Joy และ Sadness ไม่อยู่ที่สำนักงานใหญ่
ถูกเหล่าอารมณ์ที่เหลือมา Take
Over อย่างเสียมิได้
นี่ก็เปรียบเสมือนอารมณ์ของเด็กคนหนึ่ง ที่ปกติมองโลกในแง่ดีมาตลอด
แต่พอเข้ามาสู่ช่วงวัยรุ่นก็กลับพบว่าโลกนี้มันน่าหงุดหงิด น่ารำคาญไปซะหมด
มีแต่ความโกรธ หงุดหงิดและความกลัว ตรงนี้น่าจะตรงกับหลายๆ
คนที่เริ่มเข้สู่ช่วงวัยรุ่นต้อนต้นเลยนะ วัยต่อต้านหน่ะ
นอกจากประเด็นหลักเรื่องหลักแล้วทีมงานยังใส่ใจเรื่องเล็กๆ
น้อยๆ ที่หลายๆ คนอาจจะไม่ได้สังเกตเช่น Riley จะมีตัวละครอารมณ์ทั้ง 2 เพศ
แต่ในขณะที่พ่อกับแม่ มีเพศเดียว ซึ่งก็พออนุมานได้ว่าในวัยเด็ก การพัฒนาการเรื่องเพศยังไม่ถูกพัฒนาอย่างเต็มที่ดังนั้นจึงมึความเป็นไปได้มากมาย
ซึ่งจะต้องรอให้เลยวัย 17 ปี แล้วกดปุ่ม “วัยหนุ่มสาว” (Puberty) กระมัง
และแต่ละตัวละครจะมีอารมณ์หลักไม่เหมือนกัน Riley คือ Joy พ่อคือ Anger ส่วนแม่คือ Sadness
ชมมาเยอะแล้วขอติบ้าง ทางด้านการเล่าเรื่องก็แทบจะไม่มีที่ตินะเพียงแต่ในความเห็นของผมคือการเล่าเรื่องบางช่วงมันใช้เหตุบังเอิญมากเกินไปหน่อย
เช่นตอนที่ Joy พุ่งตัวกลับไปสำนักงานใหญ่
คือจริงๆ ถ้าผิดมุมนิดเดียวแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะคว้า Sadness ที่กำลังลอยเคว้งเลยนะ
แต่ให้อภัยเพราะ Sadness น่ารักมากละกัน
(อ่าว) อีกอย่างทางด้านทฤษฏีอารมณ์ หรือทางด้านสมองอาจจะไม่ตรงซะทีเดียว
(แน่นอนว่าไม่ได้คิดว่าในหัวเราจะมี Imaginary Land หรือ Dream Production หรอกหน่ะ) เช่น
เรื่องหลุมความทรงจำหรือ Memory
dump ที่ในเรื่องคือความทรงจำที่ถูกลืมลบไป แต่ในความเป็นจริงตามทฤษฎีปัจจุบันคือเราไม่ได้ลืมความทรงจำไปอย่างถาวร
เพียงแต่ถูกเก็บไว้ในส่วนลึกเท่านั้นเอง จริงๆ มีทฤษฎีอื่นอีกแต่จะเอามาแย้งก็ดู Realistic เกินการ์ตูนละ
(ฮา)
เนื้อเรื่องโดยรวมของเรื่องนี้ถือว่าค่อนข้างโตมากทีเดียว
อาจจะเหมาะกับวัยรุ่นที่ผ่านช่วงวัยอย่าง Riley มาแล้ว เพื่อให้มองย้อนกลับพินิจถึงตัวเอง
หรือวัยของคนที่เริ่มเป็นพ่อเป็นแม่ที่อยากจะทำความเข้าใจลูกของตัวเองให้มากขึ้นว่าวัยรุ่นสมัยนี้คิดอย่างไร
ผมคิดว่าเด็กๆ ตัวน้อยๆ
คงไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่อนิเมชั่นเรื่องนี้ต้องการจะสื่อออกมาได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน
แต่อย่างไรก็ตามผมว่าเรื่องนี้สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้สอนเด็กๆ
เข้าใจถึงอารมณ์พื้นฐานของตัวเองได้เป็นอย่างดี
เรียกว่าต้องมีคุณพ่อคุณแม่คอยนำทางกันหน่อยละ
สุดท้ายหนังเรื่องนี้ถือว่าสอบผ่านอย่างดีเยี่ยม ทั้งในแง่ความสร้างสรรค์ และความลุ่มลึกของเนื้อเรื่อง
เรียกได้ว่า Pixar คนเดิมกลับมาแล้วจริงๆ
สิ่งที่ได้จากการดู Inside out
1. ความเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต
ขึ้นชื่อว่าชีวิต มันก็ย่อมเต็มไปด้วยความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ชีวิตคนเราจะได้เจอทุกอารมณ์
2. ความสุขไม่ใช่การเริงร่าอยู่ตลอดเวลา
Joy (ความร่าเริง) คือ อารมณ์ที่โดดเด่นที่สุดของไรลีย์ในวัยเด็ก แต่แล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้น ในวันที่ครอบครัวของเธอต้องย้ายบ้าน ซึ่งทำให้อารมณ์อื่นๆ เริ่มมีบทบาทในชีวิตของไรลีย์มากขึ้น
3. ความเศร้าสอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
คนเศร้ามักจะเป็นคนที่ชอบคิดใคร่ครวญอะไรต่างๆ อยู่ในใจเสมอ (คล้ายๆ กับการอ่านคู่มือสมอง) และนั่นก็ทำให้ Sadness มีความเข้าอกเข้าใจในพื้นที่ต่างๆ ภายในจิตใจของไรลีย์ดีกว่าใคร
4. ความสุขมักจะปนมากับความเศร้าอยู่เสมอ
ความทรงจำหลายๆ อย่างของคนเรามักจะอยู่ในรูปของความสุขที่ปนมากับความเศร้า หรือที่เรียกกันว่า mixed feeling ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เข้าใจได้ยาก
5. การเก็บกดความเศร้าเอาไว้เป็นเรื่องไม่ดี
ฉากหนึ่งที่สำคัญมากในหนังก็คือ ตอนที่ Joy เอาชอล์คมาวงที่พื้นรอบๆ ตัว Sadness เพื่อไม่ให้เธอออกมาวุ่นวายและทำให้ความทรงจำของไรลีย์เศร้าหมองอีก ซึ่งนั่นก็คือการละเลยความเศร้าที่เกิดขึ้น และพยายามหลอกตัวเองว่ามีความสุขนั่นเอง
เราต้องรู้จักการรับมือกับความเศร้า และหาวิธีทำให้ความเศร้าหายไป
ความเกี่ยวข้องกับทฤษฎี
1. ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยธรรมชาติมนุษย์จะเป็นผู้พร้อมที่จะมีกริยากรรม เช่นกับไรลีย์ เมื่อเขาลืมตาดูโลกขึ้นมาจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ในภายในไรลีย์จะมีระบบจัดเก็บรวบรวมกระบวนการต่างๆอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก มีทั้งการซึมซาบประสบการณ์และการตีความต่างๆ
2. ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
ไรลีย์จะแสดงพัฒนาการทางสมองด้วยการกระทำ และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต เรียกว่า Enactive Mode เป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการจับต้อง เช่น ผลัก ดึง จับ การเล่นกีฬาของไรลีย์ นอกจากใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กยังสามารถถ่ายทอดด้วยภาพในใจของเค้า เมื่อไรลีย์สามารถที่จะสร้างจินตนาการได้ เด็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างในโลกได้ด้วยการใช้ Iconic Mode
3. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอองซูเบล
เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่หรือหลักการและกฏเกณฑ์ที่เคยได้เรียนมาแล้วไรลีย์ ที่เคยเล่นกีฬามาแล้วจะสามารถจำวิธีการเล่นได้โดยไม่ต้องจดจำ
4. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง คือ ความรู้ส่วนตัวของแต่ละบุคคลต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือสิ่งที่ตนรู้ จากการเรียนรู้อะไรก็ตามด้วยความเข้าใจ เหมือนกับไรลีย์ที่มีความสามารถทางด้านกีฬาฮอกกี้ เมื่อเธอทำมันได้ดีเธอก็อยากจะทำไมต่อไปเรื่อยๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น