พฤติกรรมนิยมทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral
Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus-คือสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง (Response - ตัวพฤติกรรม)
โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม
คือ เกิดการเรียนรู้นั่นเอง ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น
ในการเรียนรู้ความจริงกลุ่มนี้ก็สนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดและปฏิกิริยาซึ่งเกิดขึ้นภายในเหมือนกัน
แต่ว่ายากแก่การสังเกตและรู้สึกว่ามิใช่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ดังนั้นจึงสนใจเฉพาะสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น
การที่กลุ่มนี้ให้ความสนใจกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในและปฏิกิริยาของผู้เรียนน้อยเพราะศึกษาทดลองโดยสัตว์ชั้นต่ำ
เช่น หนู เป็นต้น ผู้นำที่สำคัญของกลุ่มนี้ เช่น พาพลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดค์ (Edward Thondike) และ สกินเนอร์ (B.F
Skinner) พื้นฐานความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมคือสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม
แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
1. พฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้
2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนรู้ที่เป็นอิสระหลายอย่าง
3. แรงเสริม(Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมแบ่งพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น
2 กลุ่ม
1. Respondent Behavior หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า
เมื่อมีสิ่งเร้าตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ อธิบายได้โดย
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
2. Operant Behavior เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา (Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม อธิบายได้โดยทฤษฎี Operant Conditioning Theory
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
อธิบายถึงการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
และสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับการ ตอบสนอง
พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex)
หรือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องอารมณ์ ความรู้สึก บุคคลสำคัญของทฤษฎีนี้
ได้แก่ Pavlov, Watson, Wolpe etc. Ivan P. Pavlov
นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย (1849 - 1936)
ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงระหว่างการตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
(Unconditioned
Stimulus = UCS) และสิ่งเร้า ที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus)
จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าที่เป็นกลางให้กลายเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
(Conditioned Stimulus = CS) และการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข
(Unconditioned Response = UCR) เป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไข
(Conditioned Response = CR) ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นดังนี้
หลักการเกิดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ
การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (CR) เกิดจากการนำเอาสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
(CS) มาเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCS)
ซ้ำกันหลายๆ ครั้ง ต่อมาเพียงแต่ให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS)
เพียงอย่างเดียวก็มีผลทำให้เกิดการตอบสนองในแบบเดียวกัน
แนวคิดของพาฟลอฟ
ผลจากการทดลอง Pavlov
สรุปหลักเกณฑ์ของการเรียนรู้ได้ 4 ประการ คือ
- การดับสูญหรือการลดภาวะ (Extinction) เมื่อให้ CR นานๆ โดยไม่ให้ UCS เลย การตอบสนองที่มีเงื่อนไข (CR) จะค่อยๆ ลดลงและหมดไป
- การฟื้นกลับหรือการคืนสภาพ ( Spontaneous Recovery ) เมื่อเกิดการดับสูญของการตอบสนอง (Extinction) แล้วเว้นระยะการวางเงื่อนไขไปสักระยะหนึ่ง เมื่อให้ CS จะเกิด CR โดยอัตโนมัติ
- การแผ่ขยาย หรือ การสรุปความ (Generalization) หลังจากเกิดการตอบสนองที่มีเงื่อนไข ( CR ) แล้ว เมื่อให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) ที่คล้ายคลึงกัน จะเกิดการตอบสนองแบบเดียวกัน
- การจำแนกความแตกต่าง (Discrimination) เมื่อให้สิ่งเร้าใหม่ที่แตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข จะมีการจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้า และมีการตอบสนองที่แตกต่างกันด้วย
John B. Watson
Joseph Wolpe
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน (1958) ได้นำหลักการ Counter - Conditioning ของ Watson ไปทดลองใช้บำบัดความกลัว (Phobia) ร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxation) เรียกวิธีการนี้ว่า Desensitization
แนวคิดของวัตสัน (ศึกษาความกลัว)
แนวคิดของวัตสัน (แก้ความกลัว)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน (1878 - 1958) ได้ทำการทดลองการวางเงื่อนไขทางอารมณ์กับเด็กชายอายุประมาณ 11 เดือน โดยใช้หลักการเดียวกับ Pavlov หลังการทดลองเขาสรุปหลักเกณฑ์การเรียนรู้ได้ ดังนี้- การแผ่ขยายพฤติกรรม (Generalization) มีการแผ่ขยายการตอบสนองที่วางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้า ที่คล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
- การลดภาวะ หรือการดับสูญการตอบสนอง (Extinction) ทำได้ยากต้องให้สิ่งเร้าใหม่ (UCS ) ที่มีผลตรงข้ามกับสิ่งเร้าเดิม จึงจะได้ผลซึ่งเรียกว่า Counter - Conditioning
Joseph Wolpe
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน (1958) ได้นำหลักการ Counter - Conditioning ของ Watson ไปทดลองใช้บำบัดความกลัว (Phobia) ร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxation) เรียกวิธีการนี้ว่า Desensitization
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
- ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น วิชาที่เรียน กิจกรรม หรือครูผู้สอน เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้
- ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
- ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม
ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์
(Skinner's
Operant Conditioning Theory)
B.F. Skinner (1904 - 1990)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ
(Operant Behavior) สกินเนอร์ได้แบ่ง
พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ 2 แบบ คือ
- Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล หรือการเกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ
- Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด หรือเลือกที่จะแสดงออกมา ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน เช่น กิน นอน พูด เดิน ทำงาน ขับรถ ฯลฯ.
ทฤษฎีของธอร์นไดค์ เรียกว่า ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Connectionism Theory)
|
กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus - S) กับการตอบสนอง (Response - R) ธอร์นไดค์นำแมวที่หิวมากไปขังไว้ในกล่องที่สร้างขึ้น แล้วนำปลาไปวางล่อไว้นอกกรง แล้วเฝ้าสังเกตว่าแมวพยายามหาวิธีออกจากกรงอย่างไร ด้วยความบังเอิญเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้ทำให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้นขังแมวไว้ใหม่ หลายสิบครั้งจนแมวเกิดการเรียนรู้ ใช้เวลาในการเปิดกรงได้ในทันที
แนวคิดของสกินเนอร์
|
หลักการสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ก็คือการควบคุมการตอบสนองด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะในเรื่องที่ต้องการเพื่อให้เกิดเป็นนิสัยติดตัว ดังนั้นถ้าเราต้องการให้เด็กมีพฤติกรรมใหม่ในเรื่องใด ก็ควรให้การเสริมแรงพฤติกรรมนั้น เพื่อให้เด็กทำต่อไปจนเป็นนิสัย แต่ถ้าต้องการให้พฤติกรรมใดหายไปก็ควรลดการเสริมแรงพฤติกรรมนั้น ก็จะทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนานั้นหายไป
การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์ เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง (Reinforcement) ว่ามีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร ยิ่งขึ้นด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ คือ การเสริมแรง หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ
การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์ เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง (Reinforcement) ว่ามีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร ยิ่งขึ้นด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ คือ การเสริมแรง หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
- การเสริมแรง และ การลงโทษ
- การปรับพฤติกรรม และ การแต่งพฤติกรรม
- การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น