บทที่ 3 การวัดด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain)
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธพิสัย(Cognitive Domain)
Boom และ คณะ ได้แบ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัยออกเป็น 6 ชั้น โดยเรียงจากพฤติกรรมต่ำสุดถึงสูงสุดและพฤติกรรมแต่ละขั้นมีวิธีการเขียนข้อสอบวัดดังนี้
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด หรือพฤติกรรมทางด้านสมองของบุคคล ในอันที่ทำให้มีความเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา การเรียนการสอนในปัจจุบันยังเน้นในด้านนี้มากพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย แบ่งได้เป็น 6 ระดับดังนี้
1. ความรู้ความจำ เป็นความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการ เปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่าง ๆ ได้ สามารถเปิดฟัง หรือ ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
ตัวอย่างข้อสอบ
ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ก. แรม ข. ซี พี ยู
ค. ซีดี รอม ง. ไบโอดีเซล
2. ความเข้าใจ เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อได้ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
ตัวอย่างข้อสอบ
หน้าจอหรือมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์เปรียบได้กับการทำหน้าที่ของอวัยวะส่วนใดของมนุษย์
ก. หู ข. ตา
ค. ปาก ง. จมูก
3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้ เช่น นำหลักของการใช้ภาษาไทยไปใช้สื่อความหมายในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องและเหมาะสม
ตัวอย่างข้อสอบ
ถ้าเราต้องการพิมพ์เอกสารรายงานในระบบ เราต้องเลือกโปรแกรมใดในการจัดพิมพ์
ก. word
ข .excel
ค. access
ง. paint
ก. word
ข .excel
ค. access
ง. paint
4. การวิเคราะห์ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
ตัวอย่างข้อสอบ
หากกดปุ่มรีสตาร์ท จะเกิดผลลัพท์อย่างไร
ก. เครื่องจะดับทันที
ข. เครื่องจะเข้าสู่โหมดลดการใช้พลังงานไฟฟ้า
ค. เครื่องจะทำการพักหน้าจอและแสดงจอเป็นสีดำ
ง. เครื่องจะเริ่มระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ใหม่
ก. เครื่องจะดับทันที
ข. เครื่องจะเข้าสู่โหมดลดการใช้พลังงานไฟฟ้า
ค. เครื่องจะทำการพักหน้าจอและแสดงจอเป็นสีดำ
ง. เครื่องจะเริ่มระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ใหม่
5. การสังเคราะห์ ขั้นนี้เป็นความสามารถในการที่ผสมผสานย่อย ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ หรือ แนวคิดใหม่
ตัวอย่างข้อสอบ
ถ้าระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น ใช้ระบบเครือข่าย LAN แล้วระบบเครือข่ายระดับประเทศจะต้องใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประเภทใด
ก. MAN ข. VAN
ค. PAN ง. KAN
ค. PAN ง. KAN
6. การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
ตัวอย่างข้อสอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น