วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 สรุปเรื่อง Inside out


  Inside out  


           Pixar (พิกซาร์) ถือว่าเป็นหนึ่งในค่ายอนิเมชั่นที่ผมชอบที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะหนังอนิเมชั่นของ Pixar แต่ละเรื่องจะถูกกล่าวขวัญว่าไม่ใช่แค่การ์ตูนเด็กดู เพราะเป็นการ์ตูนที่เด็กก็ดูสนุก ผู้ใหญ่ก็ดูแล้วได้แง่คิดนั่นเอง และพอมาพูดถึง Inside Out ถือว่าเป็นหนึ่งในหนังที่ผมคาดหวังไว้สูงมาก จากหลายๆ ปัจจัยใจ เพราะถ้าคุณเป็นนแฟน Pixar แล้วละก็จะรู้สึกได้เลยว่า Pixar เป๋ มาหลายปีแล้ว เริ่มจากความวินาศสันตโรที่ Cars 2 ทำไว้ในปี 2011 ที่สร้างจุดด่างพร้อยให้แก่ค่าย ได้คะแนนวิจารณ์ห่วยเป็นประวิติการณ์ ต่อด้วย 2012 ที่ Brave เปิดตัวเจ้าหญิงคนแรกของ Pixar ถึงแม้จะได้ Oscar มากอด แต่ก็เรียกได้ว่าเสียงออกมาค่อนข้างก้ำกึ่ง เพราะหลายเสียงก็เทไปให้ Wreck-It Ralph ด้วย แต่ส่วนตัวผมก็อินกับ Brave นะ แต่ก็ถือว่าคุณภาพดรอปลงไปหน่อยจริงๆ มาต่อด้วยปี 2013 กับ Monsters University ที่เป็นเรื่องช็อควงการ เพราะไม่ได้แม้แต่เข้าชิง Oscar !! หลายๆ เสียง (รวมถึงผม) ก็พิศวงงงงวยไปตามๆ กัน เพราะว่ากันที่ตัวผลงานก็ไม่ได้แย่ และคิดว่าดีกว่าบางเรื่องที่เข้าชิงในปีนั้นเสียด้วย แต่ถ้าว่ากันตาม “มาตรฐานค่าย” แล้ว ผมก็รู้สึกเช่นกันว่า ยังไม่ถึงขั้น บวกกับเนื้อเรื่องแนว High-school ที่ดูเกร่อในตลาดอเมริกันเสียเหลือเกิน ผมจึงมีทฤษฎีสบคมคิดว่า นี่คือการลงโทษจากกรรมการ Oscar หรืออย่างไร อารมณ์ประมาณว่า คุณกลับไปขัดเกลาผลงานมาให้ดีแบบเดิมให้ได้ก่อน ฉันจึงจะให้เข้าร่วม... มาในปี 2014 ทาง Pixar เลยไม่ส่งอนิเมชั่นมาให้ดูเสียเลยเพราะน้อยใจ... ฮือๆ ใช่ที่ไหนล่ะ... ดูเหมือนจะทำไม่ทันละมั้ง จากความเป๋ต่อเนื่องมาตลอด 4 ปีนี่เอง หลังจากจากปล่อยทีเซอร์ออกมา แล้วดูมีแมว ที่ทำให้ผมคาดหวังสุดฤทธิ์ ดูมันทุก Trailer ทุก Short Clip จนจะปะติปะต่อเรื่องเองอยู่แล้ว อ่านคำวิจารณ์จากคานส์ ก็ Hype ตัวเองสุดฤทธิ์.... คาดหวังสุดๆ พอหลังจากหนังเข้าวันที่ 19 มิถุนายน ณ อเมริกิ้ว ผมก็ได้พุ่งตัวเข้าไปในโรงทันที

คุณเคยมองใครซักคนแล้วสงสัยหรือเปล่า ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในหัวของเค้า ?
“Do you ever look at someone and wonder what is going on inside their head?”          

ประโยคเปิดของเรื่อง และคงจะเป็นประโยคคำถาม ที่ Pete Docter ผู้กำกับ และผู้เขียนบทเรื่องนี้ โยนตู้มใส่ทีมงานเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ถึงเรื่องการพยายามทำความเข้าใจกับเสียงในหัวจะไม่ใช่เรื่องใหม่ เรามักจะแซวกันตลอดว่ามีนางฟ้ากับตัวมารอยู่ในตัวเราเสมอ แต่การนำมันมาขยายความและสร้างเป็นอนิเมะชั่นเรื่องยาว ก็ถือว่าแปลกใหม่ทีเดียว หลังจากที่ Pete Docter ได้ไอเดียเรื่องนี้ เค้าได้ปรึกษากับนักจิตวิทยา ผู้ศึกษาเรื่องอารมณ์อย่าง Paul Ekman ทำให้ทราบว่ามนุษย์เรามีอารมณ์หลักๆ อยู่ 6 แบบด้วยกัน คือ ความกลัว (Fear), ความประหลาดใจ (Surprise), ความขยะแขยง (Disgust), ความสุข (Joy), ความเศร้า (Sadness), ความโกรธ (Anger) อย่างไรก็ตามพีทมองว่าความประหลายใจ และความกลัวมีความใกล้กันจนเกินไป จึงตัดเหลือแค่ 5 ตัว นำมาพัฒนาตัวละครต่อไป



          ในเรื่องนี้เราจะได้พบกับตัวเอกคือ Riley (ไรลีย์) เด็กสาวอายุ 11 ปี ผู้มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ แถมเป็นนักกีฬาฮอกกี้ตัวเก่งของโรงเรียน แต่ใครจะรู้ว่าในหัวของเธอนั้น ประกอบด้วยตัวเอกเล็กๆอีก 5 ตัวคือ  Joy,  Sadness , Anger, Disgust และ Fear แม้ว่าจะมีอารมณ์ถึง 5 อารมณ์ แต่คนที่คอยควบคุมความรู้สึกและการกระทำส่วนมากของ Riley ก็คือ Joy คอยทำให้เธอเป็นเด็กที่สดใส มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ในทุกการกระทำของ Riley จะถูกเก็บเป็นลูกบอล “ความทรงจำ” (Memory) ความทรงจำเหล่านี้เมื่อหมดวันจะถูกเก็บไปยังส่วนของ “ความทรงจำระยะยาว” (Long-term memory) และในบางครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ในชีวิตลูกบอลที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า “ความทรงจำหลัก” (Core memory) และเหล่า Core memory นี้เอง ที่จะถูกพัฒนาให้กลายเป็นบุคคลิกภาพประจำตัว (Personality) ต่อไป ซึ่งในเรื่องนั้น Core memory เหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็นเกาะ เพื่อแทนบุคคลิกภาพในแต่ละแง่มุม เช่นเกาะฮอคกี้เมื่อ Riley ทำประตูแรกได้เมื่อตอนเป็นเด็ก ทำให้เธอชอบเล่นฮอกกี้ตั้งแต่นั้นมา หรือเกาะแห่งมิตรภาพที่แทนถึงเพื่อรักของเธอที่สนิทกันมาตั้งแต่เด็ก ชีวิตของเธอมีแต่ความสุข (เป็นส่วนมาก) แม้กระทั้ง Joy เองก็ไม่คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเธอได้ จนกระทั้ง เธอต้องย้ายบ้าน…

  เมื่อความสุข ปะทะ กับความเศร้า  
           แน่นอนว่าภายใต้การควบคุมของ Joyนั้น ทำให้ลูกบอลความทรงจำของ Riley เต็มไปด้วยลูกบอลสีทองแห่งความสุข การนึกถึงความทรงจำบางเก่าๆ ก็ทำให้มีเรื่องเล่าสนุกๆ มาเล่าให้กันฟังได้เสมอ และปัญหาคงจะไมเกิดขึ้นเลย ถ้า “Sadness” หรือ “ความเศร้า” มีความอยากรู้อยากเห็น และมือบอนเกินกว่าอารมณ์อื่นๆ ทำให้เธอเผลอไปแตะบอลที่เคยเป็นสีทอง แต่บัดนี้มันถูกย้อมด้วยสีน้ำเงินแห่งความเศร้า แน่นอนว่ามันได้ส่งผลไปถึงอารมณ์ของ Riley ด้วย ความทรงจำที่เคยคิดว่ามันสนุกกลับกลายเป็นความทรงจำที่เศร้าเพราะคงไม่ได้เจอเหตุการณ์ที่สนุกแบบนั้นอีกแล้วในเมืองนี้ เหตุการณ์นี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ของเหล่าอารมณ์ที่เหลือ เพราะพวกเค้ายังหาวิธีย้อมความทรงจำกลับให้เป็นแบบเดิมไม่ได้ และนั้นหมายความว่าเมื่อ Riley นึกถึงความทรงจำนี้ ก็จะกลายเป็นความเศร้าแทนที่ความสุขนั่นเอง  และเหตุการณ์ก็เลวร้ายยิ่งขึ้นเมื่อ Sadness ได้ไปยุ่งกับความทรงจำระหว่างที่ Riley กำลังแนะนำตัวต่อหน้าชั้นเรียนในฐานะนักเรียนใหม่ ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดคือ Core Memory สีน้ำเงินได้ถูกสร้างขึ้นเพราะ Riley ได้ร้องให้ต่อหน้าคนในชั้นเรียนนั่นเอง แน่นอนว่า Joy ผู้ต้องการให้ ไรลีย์มีความสุข ไรลีย์มีความความสุข (อะไรนะ ไม่ใช่ Marry is happy เร๊อะ ?) ได้ทำการขัดขวางไม่ให้ความทรงจำสีน้ำเงินนี้ถูกนำไปสร้างเป็นบุคลิกภาพของ Riley แต่ Sadness เองก็ไม่ยอมเช่นกัน ยื้อแย่งกันไปมาสุดท้ายความทรงจำหลักได้กระจัดกระจายออก ทำให้แต่ละเกาะกลายเป็นสีเทาขาดชีวิตชีวาไปในทันที แต่เท่านั้นยังไม่พอ สุดท้าย Sadness กับ Joyก็ถูกดูดผ่าน “ท่อแห่งการนึกถึง” (Recall tube) เชื่อมไปยังที่เก็บความทรงจำระยะยาวนั่นเอง เป็นจุดเริ่มต้นของการหาทางกลับมายังสำนักงานใหญ่ (Headquarter)


  ความโศกเศร้าที่ไม่จำเป็น ?  

         ตลอดทั้งเรื่องที่ผ่านมา Joyได้กระทำกับ Sadness ประหนึ่งว่าเป็นอารมณ์ที่ไม่จำเป็นสำหรับ Riley เริ่มจาก Joyมอบหมายหน้าที่ให้กับทุกอารมณ์ เช่น ให้ Fear หารายการความเป็นไปได้ที่จะเกิดเรื่องแย่ๆ กับ Riley ให้ Disgust ทำให้ Riley โดดเด่นในชั้นเรียน แต่กลับกันนั้น Joy ได้มอบหมายให้ Sadness อยู่ในวงกลมแห่งความเศร้า (Circle of Sadness) ที่ Joyใช้ชอล์กเขียนขึ้นเอง ซึ่งก็แปลง่ายๆว่าอย่าไปยุ่งกับส่วนอื่นๆ เชียวนะ ! (ใจร้าย ~)


           ในระหว่างการเดินทางเพื่อหาทางกลับไปสู่สำนักงานใหญ่  Joyและ Sadness ได้พบกับ Bing Bong  (บิงบอง) เพื่อนในจินตนาการของ Riley ที่คิดว่าตัวเองคงถูกไลรีย์ลืมไปแล้ว แต่ Joy ก็ได้ให้คำมั่นว่าจะทำให้ไลรีย์จำเค้าให้ได้ ทำให้ Bing Bong กลับมามีความหวังว่าจะได้นั่งจรวด (ของเล่น) ไปยังดวงจันทร์ (ในจินตนาการ) กับ Riley อีกครั้ง แต่เหตุการณ์ก็ไม่เป็นดังหวังเมื่อ Bing Bong ถูกเหล่าผู้เก็บกวาดความทรงจำโยนจรวดของเค้าทิ้งลงในหลุมขยะความทรงจำ (Memory Dump) Bing Bong ช็อคอย่างมากเพราะเค้าจะไม่มีโอกาสได้ไปดวงจันทร์พร้อมกับ Riley อีก Joy เห็นแบบนั้นจึงพยายามที่จะ ให้กำลังใจด้วยการทำท่าตลกๆ แต่ใจจริงๆ ของ Joy คือกลัวจะไปขึ้นรถไฟแห่งความนึกคิด (Train of Thought) เพื่อที่จะกลับไปสำนักงานใหญ่ไม่ทัน จึงพยายามรีบให้ Bing Bong ดีขึ้นและนำทางต่อ ไม่ว่าจำทำยังไง Bing Bong ก็ไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้นเลย จน Sadness ได้ลองไปนั่งข้างๆ Bing Bong  (แน่นอนว่า Joyต้านสุดฤทธิ์ – อย่าทำให้เค้ารู้สึกแย่ไปกว่านี้สิ)  Sadness ไม่ได้พูดให้กำลังใจ แต่กลับกัน Sadness กลับพูดอย่าง “เข้าใจ” ว่า “เค้ามาเอาสิ่งที่เรารักไป มันเศร้าเนอะ…” สุดท้าย Bing Bong จึงได้ร้องให้กอด Sadness ไว้แน่น แต่หลังจากนั้น Bing Bong ก็โอเคขึ้นและพร้อมเดินทางต่อ Joy ที่มองโลกด้วยแง่มุมของตัวเองมาตลอด กลับรู้สึกประหลาดใจอย่างมาก ว่าทำไมความเศร้าถึงทำให้คนรู้สึกดีขึ้นได้ เธอทำได้ยังไง ? คำถามเล็กๆ ของ Joy ที่เริ่มทำให้เธอมองความเศร้าในแง่มุมต่างจากเดิมเล็กน้อย… แต่เมื่อถึงคราวจำเป็นที่ Joy และ Sadness ต้องใช้ Recall tube เพื่อกลับไปยังสำนักงานใหญ่ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือถ้า Joyให้ Sadness มาด้วย Core memory ที่อยู่ในถุงก็จะถูกย้อมด้วยสีน้ำเงินแห่งความเศร้า สิ่งที่ Joy ตัดสินใจคือทิ้ง Sadness ไว้เบื่องหลัง…


  “I’m sorry, Riley need to be happy”  


               การกลับไปยังสำนักงานใหญ่ด้วย Recall tube ล้มเหลว ยิ่งไปกว่านั้น Bing Bong และ Joy ตกสู่หลุมขยะความทรงจำอีกด้วย  Joyที่พยายามปีนขึ้นจากหลุมด้วยตัวเองกลิ้งครั้งแล้วครั้งเล่า จน Bing Bong ก็บอกให้พอเถอะ… เราคงจะถูกลืมอยู่ที่นี่  Joy ได้ปลงตกและหยิบความทรงจำเก่าๆ ที่ถูกทิ้งของ Riley ขึ้นมาดู พร้อมกับน้ำตาที่เอ่อล้นขึ้นมาว่า “ทำไมล่ะ… ชั้นก็แค่อยากให้ไรลีย์มีความสุขแค่นั้นเอง” ในกองของความทรงจำนั้นเองน้ำตาของ Joyได้หยดไปบนความทรงจำลูกหนึ่ง ซึ่งความทรงจำนี้เอง เป็นความทรงจำที่ ในมุมของ Joy คือการการมีพ่อ แม่และคนในทีมฮอกกี้มารายล้อมเป็นความทรงจำแห่งความสุข แต่ในมุมของ Sadness ที่เคยพูดถึงมาก่อนคือในวันนั้น Riley พลาดช็อตสำคัญ ทำให้ทีมแพ้ เป็นวันแห่งความเศร้า การที่พ่อ, แม่และทีมมาหา Riley ไม่ได้มาแสดงความยินดีเพราะ “ความสุข” แต่มาช่วยให้กำลังใจเพราะ ”ความเศร้า” ต่างหาก ในตอนนั้นเองเหมือนมีใครมาเปิดสวิทไฟในตัว Joy ตอนนี้เธอเข้าใจแล้วว่าสิ่งที่จำเป็นต่อ Riley ไม่ได้มีแค่ความสุขเพียงอย่างเดียว ความเศร้าด้วยก็เช่นกัน


        สิ่งนี้เห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อในฉากสุดท้ายของเรื่องที่ Riley ได้กลับมาจากการพยายามหนีออกจากบ้าน Joy ยอมให้ Sadness เป็นคนควบคุมการกระทำทั้งหมด รวมถึงการนำความทรงจำหลักขึ้นไปฉายอีกครั้ง ความทรงจำหลักทั้งหมดที่เคยเป็นความทรงจำที่มีความสุข บัดนี้ถูกย้อมให้เป็นความเศร้า ความคิดถึง ความคิดถึงบ้านเก่า คิดถึงเพื่อนเก่า คิดถึงทีมเก่า คิดถึงโรงเรียนเก่า Riley ร้องให้และระบายความในใจให้พ่อกับแม่ฟัง และขอร้องว่าจะว่าหนูเลย สุดท้ายครอบครัวก็ได้กอดกันอย่างเข้าใจ และในตอนั้นเอง Sadness ได้จับมือ Joyเพื่อให้มาควบคุมอารมณ์ของ Riley ด้วยกัน ในความเศร้า มันก็ยังมีความสุขอยู่ด้วยใช่ไหม…. แม้ร้องให้อยู่ก็ยังยิ้มได้ใช่ไหม น้ำตาแห่งความสุขของ Riley ไหลลง พร้อมกับ Core memory ได้ถูกสร้างขึ้น ความทรงจำมีที่มีทองและสีน้ำเงินอย่างละครึ่ง ความทรงจำที่มีทั้งความสุขและความเศร้า…


  เรียนรู้ ยอมรับ และเติบโต  


          สิ่งที่ต้องชมอย่างแรกเลยคือความคิดสร้างสรรค์ของทีมงาน ที่สามารถนำเอาเรื่องในหัวอย่างอารมณ์มาแสดงออกได้อย่างสร้างสรรค์สุดๆ ปมความขัดแย้งระหว่างอารมณ์อย่าง Joy และ Sadness หรือความสุขกับความเศร้า นั้นถูกขับออกมาได้อย่างน่าสนใจ เราคงจะเคยคิดเหมือนเหมือนกันว่าความสุขเป็นเป็นสิ่งดี ความเศร้าเป็นสิ่งไม่ดี แล้วเราจะมีความเศร้าไปทำไมกันนะ ?? แต่ก็นั่นแหละความเศร้าที่ใครๆ ก็เห็นว่าไม่เป็นจำเป็น ในบางเวลากลับเป็นสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด จะเศร้าบ้างก็ได้ และในทางกลับกันความสนุกสนานก็ไม่ได้สามารถใช้แก้ทุกปัญหาเช่นกัน ในการแก้ปัญหานั้นบางครั้งเราก็ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย เมื่อเรียนรู้ถึงสิ่งนี้ได้ เราก็พร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น  ความขัดแย้งนี้ถูกโยงไปยังการก้าวข้ามผ่านวัย (Coming of Age) ของเด็กสาวคนหนึ่ง เมื่อเราเป็นเด็กเรายังคงแสดงอารมณ์ได้ไม่ซับซ้อนนัก แสดงออกมาอย่างตรงไปตรงมาก สุข, เศร้า, เหงา, โกรธ แต่เมื่อเราโตขึ้นการแสดงอารมณ์ก็ซับซ้อนขึ้นตาม ดั่งจะเห็นได้จากตอนช่วงสุดท้ายของเรื่องที่มีการสร้างที่ควบคุมอารมณ์ใหม่เพื่อให้เราสามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างซับซ้อนมากขึ้น มี Core Memory แบบผสมมากมาย ขยะแขยง-กลัว, โกรธ-มีความสุข หรือโกรธ-เศร้า สิ่งที่เด่นชัดอีกอย่างก็คือ การที่ Bing Bong ถูกทิ้งไว้เบื้องหลังเพื่อให้ Joy ขึ้นหน้าผาได้ เปรียบเสมือนการเติบโตของ Riley ที่คงไม่ได้นึกถึงเพื่อนในจินตนาการอีกต่อไป


         ทางด้านของ Riley เอง ตอนที่ Joy และ Sadness ไม่อยู่ที่สำนักงานใหญ่ ถูกเหล่าอารมณ์ที่เหลือมา Take Over อย่างเสียมิได้ นี่ก็เปรียบเสมือนอารมณ์ของเด็กคนหนึ่ง ที่ปกติมองโลกในแง่ดีมาตลอด แต่พอเข้ามาสู่ช่วงวัยรุ่นก็กลับพบว่าโลกนี้มันน่าหงุดหงิด น่ารำคาญไปซะหมด มีแต่ความโกรธ หงุดหงิดและความกลัว ตรงนี้น่าจะตรงกับหลายๆ คนที่เริ่มเข้สู่ช่วงวัยรุ่นต้อนต้นเลยนะ วัยต่อต้านหน่ะ


          นอกจากประเด็นหลักเรื่องหลักแล้วทีมงานยังใส่ใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่หลายๆ คนอาจจะไม่ได้สังเกตเช่น Riley จะมีตัวละครอารมณ์ทั้ง 2 เพศ แต่ในขณะที่พ่อกับแม่ มีเพศเดียว ซึ่งก็พออนุมานได้ว่าในวัยเด็ก การพัฒนาการเรื่องเพศยังไม่ถูกพัฒนาอย่างเต็มที่ดังนั้นจึงมึความเป็นไปได้มากมาย ซึ่งจะต้องรอให้เลยวัย 17 ปี แล้วกดปุ่ม “วัยหนุ่มสาว” (Puberty) กระมัง และแต่ละตัวละครจะมีอารมณ์หลักไม่เหมือนกัน Riley คือ Joy พ่อคือ Anger ส่วนแม่คือ Sadness


          ชมมาเยอะแล้วขอติบ้าง ทางด้านการเล่าเรื่องก็แทบจะไม่มีที่ตินะเพียงแต่ในความเห็นของผมคือการเล่าเรื่องบางช่วงมันใช้เหตุบังเอิญมากเกินไปหน่อย เช่นตอนที่ Joy พุ่งตัวกลับไปสำนักงานใหญ่ คือจริงๆ ถ้าผิดมุมนิดเดียวแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะคว้า Sadness ที่กำลังลอยเคว้งเลยนะ แต่ให้อภัยเพราะ Sadness น่ารักมากละกัน (อ่าว) อีกอย่างทางด้านทฤษฏีอารมณ์ หรือทางด้านสมองอาจจะไม่ตรงซะทีเดียว (แน่นอนว่าไม่ได้คิดว่าในหัวเราจะมี Imaginary Land หรือ Dream Production หรอกหน่ะ) เช่น เรื่องหลุมความทรงจำหรือ Memory dump ที่ในเรื่องคือความทรงจำที่ถูกลืมลบไป แต่ในความเป็นจริงตามทฤษฎีปัจจุบันคือเราไม่ได้ลืมความทรงจำไปอย่างถาวร เพียงแต่ถูกเก็บไว้ในส่วนลึกเท่านั้นเอง จริงๆ มีทฤษฎีอื่นอีกแต่จะเอามาแย้งก็ดู Realistic เกินการ์ตูนละ (ฮา)



          เนื้อเรื่องโดยรวมของเรื่องนี้ถือว่าค่อนข้างโตมากทีเดียว อาจจะเหมาะกับวัยรุ่นที่ผ่านช่วงวัยอย่าง Riley มาแล้ว เพื่อให้มองย้อนกลับพินิจถึงตัวเอง หรือวัยของคนที่เริ่มเป็นพ่อเป็นแม่ที่อยากจะทำความเข้าใจลูกของตัวเองให้มากขึ้นว่าวัยรุ่นสมัยนี้คิดอย่างไร ผมคิดว่าเด็กๆ ตัวน้อยๆ คงไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่อนิเมชั่นเรื่องนี้ต้องการจะสื่อออกมาได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามผมว่าเรื่องนี้สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้สอนเด็กๆ เข้าใจถึงอารมณ์พื้นฐานของตัวเองได้เป็นอย่างดี เรียกว่าต้องมีคุณพ่อคุณแม่คอยนำทางกันหน่อยละ สุดท้ายหนังเรื่องนี้ถือว่าสอบผ่านอย่างดีเยี่ยม ทั้งในแง่ความสร้างสรรค์ และความลุ่มลึกของเนื้อเรื่อง เรียกได้ว่า Pixar คนเดิมกลับมาแล้วจริงๆ

  สิ่งที่ได้จากการดู Inside out  
         1. ความเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต
    ขึ้นชื่อว่าชีวิต มันก็ย่อมเต็มไปด้วยความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ชีวิตคนเราจะได้เจอทุกอารมณ์
         2. ความสุขไม่ใช่การเริงร่าอยู่ตลอดเวลา
    Joy (ความร่าเริง) คือ อารมณ์ที่โดดเด่นที่สุดของไรลีย์ในวัยเด็ก แต่แล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้น ในวันที่ครอบครัวของเธอต้องย้ายบ้าน ซึ่งทำให้อารมณ์อื่นๆ เริ่มมีบทบาทในชีวิตของไรลีย์มากขึ้น 
         3. ความเศร้าสอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  คนเศร้ามักจะเป็นคนที่ชอบคิดใคร่ครวญอะไรต่างๆ อยู่ในใจเสมอ (คล้ายๆ กับการอ่านคู่มือสมอง) และนั่นก็ทำให้ Sadness มีความเข้าอกเข้าใจในพื้นที่ต่างๆ ภายในจิตใจของไรลีย์ดีกว่าใคร
         4. ความสุขมักจะปนมากับความเศร้าอยู่เสมอ
  ความทรงจำหลายๆ อย่างของคนเรามักจะอยู่ในรูปของความสุขที่ปนมากับความเศร้า หรือที่เรียกกันว่า mixed feeling ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เข้าใจได้ยาก
         5. การเก็บกดความเศร้าเอาไว้เป็นเรื่องไม่ดี


  ฉากหนึ่งที่สำคัญมากในหนังก็คือ ตอนที่ Joy เอาชอล์คมาวงที่พื้นรอบๆ ตัว Sadness เพื่อไม่ให้เธอออกมาวุ่นวายและทำให้ความทรงจำของไรลีย์เศร้าหมองอีก ซึ่งนั่นก็คือการละเลยความเศร้าที่เกิดขึ้น และพยายามหลอกตัวเองว่ามีความสุขนั่นเอง


  เราต้องรู้จักการรับมือกับความเศร้า และหาวิธีทำให้ความเศร้าหายไป  

  ความเกี่ยวข้องกับทฤษฎี 

          1.  ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยธรรมชาติมนุษย์จะเป็นผู้พร้อมที่จะมีกริยากรรม  เช่นกับไรลีย์ เมื่อเขาลืมตาดูโลกขึ้นมาจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ในภายในไรลีย์จะมีระบบจัดเก็บรวบรวมกระบวนการต่างๆอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก มีทั้งการซึมซาบประสบการณ์และการตีความต่างๆ

          2.  ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
ไรลีย์จะแสดงพัฒนาการทางสมองด้วยการกระทำ และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต เรียกว่า Enactive Mode เป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการจับต้อง เช่น ผลัก ดึง จับ การเล่นกีฬาของไรลีย์  นอกจากใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กยังสามารถถ่ายทอดด้วยภาพในใจของเค้า  เมื่อไรลีย์สามารถที่จะสร้างจินตนาการได้ เด็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างในโลกได้ด้วยการใช้ Iconic Mode

          3.  ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอองซูเบล
เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่หรือหลักการและกฏเกณฑ์ที่เคยได้เรียนมาแล้วไรลีย์  ที่เคยเล่นกีฬามาแล้วจะสามารถจำวิธีการเล่นได้โดยไม่ต้องจดจำ
         4. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง คือ ความรู้ส่วนตัวของแต่ละบุคคลต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือสิ่งที่ตนรู้ จากการเรียนรู้อะไรก็ตามด้วยความเข้าใจ  เหมือนกับไรลีย์ที่มีความสามารถทางด้านกีฬาฮอกกี้ เมื่อเธอทำมันได้ดีเธอก็อยากจะทำไมต่อไปเรื่อยๆ

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 3 ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม Behavioral Theories

พฤติกรรมนิยมทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theories)
           ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus-คือสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง (Response - ตัวพฤติกรรม) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือ เกิดการเรียนรู้นั่นเอง ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น ในการเรียนรู้ความจริงกลุ่มนี้ก็สนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดและปฏิกิริยาซึ่งเกิดขึ้นภายในเหมือนกัน แต่ว่ายากแก่การสังเกตและรู้สึกว่ามิใช่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงสนใจเฉพาะสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น การที่กลุ่มนี้ให้ความสนใจกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในและปฏิกิริยาของผู้เรียนน้อยเพราะศึกษาทดลองโดยสัตว์ชั้นต่ำ เช่น หนู เป็นต้น ผู้นำที่สำคัญของกลุ่มนี้ เช่น พาพลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดค์ (Edward Thondike) และ สกินเนอร์ (B.F Skinner) พื้นฐานความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมคือสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม

แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
1. พฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้
2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนรู้ที่เป็นอิสระหลายอย่าง
3. แรงเสริม(Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมแบ่งพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 กลุ่ม
1. Respondent Behavior หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ อธิบายได้โดย ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
2. Operant Behavior เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา (Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม อธิบายได้โดยทฤษฎี Operant Conditioning Theory

          ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

          อธิบายถึงการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับการ ตอบสนอง พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) หรือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องอารมณ์ ความรู้สึก บุคคลสำคัญของทฤษฎีนี้ ได้แก่ Pavlov, Watson, Wolpe etc. Ivan P. Pavlov
          นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย (1849 - 1936) ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงระหว่างการตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus = UCS) และสิ่งเร้า ที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าที่เป็นกลางให้กลายเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus = CS) และการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned Response = UCR) เป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (Conditioned Response = CR) ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นดังนี้


          หลักการเกิดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (CR) เกิดจากการนำเอาสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) มาเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCS) ซ้ำกันหลายๆ ครั้ง ต่อมาเพียงแต่ให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) เพียงอย่างเดียวก็มีผลทำให้เกิดการตอบสนองในแบบเดียวกัน
แนวคิดของพาฟลอฟ

          ผลจากการทดลอง Pavlov สรุปหลักเกณฑ์ของการเรียนรู้ได้ 4 ประการ คือ
  1. การดับสูญหรือการลดภาวะ (Extinction) เมื่อให้ CR นานๆ โดยไม่ให้ UCS เลย การตอบสนองที่มีเงื่อนไข (CR) จะค่อยๆ ลดลงและหมดไป
  2. การฟื้นกลับหรือการคืนสภาพ ( Spontaneous Recovery ) เมื่อเกิดการดับสูญของการตอบสนอง (Extinction) แล้วเว้นระยะการวางเงื่อนไขไปสักระยะหนึ่ง เมื่อให้ CS จะเกิด CR โดยอัตโนมัติ
  3. การแผ่ขยาย หรือ การสรุปความ (Generalization) หลังจากเกิดการตอบสนองที่มีเงื่อนไข ( CR ) แล้ว เมื่อให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) ที่คล้ายคลึงกัน จะเกิดการตอบสนองแบบเดียวกัน
  4. การจำแนกความแตกต่าง (Discrimination) เมื่อให้สิ่งเร้าใหม่ที่แตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข จะมีการจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้า และมีการตอบสนองที่แตกต่างกันด้วย
          John B. Watson 
แนวคิดของวัตสัน (ศึกษาความกลัว)

แนวคิดของวัตสัน (แก้ความกลัว)
          นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน (1878 - 1958) ได้ทำการทดลองการวางเงื่อนไขทางอารมณ์กับเด็กชายอายุประมาณ 11 เดือน โดยใช้หลักการเดียวกับ Pavlov หลังการทดลองเขาสรุปหลักเกณฑ์การเรียนรู้ได้ ดังนี้
  1. การแผ่ขยายพฤติกรรม (Generalization) มีการแผ่ขยายการตอบสนองที่วางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้า ที่คล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
  2. การลดภาวะ หรือการดับสูญการตอบสนอง (Extinction) ทำได้ยากต้องให้สิ่งเร้าใหม่ (UCS ) ที่มีผลตรงข้ามกับสิ่งเร้าเดิม จึงจะได้ผลซึ่งเรียกว่า Counter - Conditioning

          Joseph Wolpe 
          นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน (1958) ได้นำหลักการ Counter - Conditioning ของ Watson ไปทดลองใช้บำบัดความกลัว (Phobia) ร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxation) เรียกวิธีการนี้ว่า Desensitization



          การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
  1. ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น วิชาที่เรียน กิจกรรม หรือครูผู้สอน เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้
  2. ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
  3. ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม

          ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner's Operant Conditioning Theory)

          B.F. Skinner (1904 - 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ (Operant Behavior) สกินเนอร์ได้แบ่ง พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ 2 แบบ คือ
  1. Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล หรือการเกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ
  2. Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด หรือเลือกที่จะแสดงออกมา ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน เช่น กิน นอน พูด เดิน ทำงาน ขับรถ ฯลฯ.
ทฤษฎีของธอร์นไดค์ เรียกว่า ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Connectionism Theory) 
         กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus - S) กับการตอบสนอง (Response Rธอร์นไดค์นำแมวที่หิวมากไปขังไว้ในกล่องที่สร้างขึ้น แล้วนำปลาไปวางล่อไว้นอกกรง แล้วเฝ้าสังเกตว่าแมวพยายามหาวิธีออกจากกรงอย่างไร ด้วยความบังเอิญเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้ทำให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้นขังแมวไว้ใหม่ หลายสิบครั้งจนแมวเกิดการเรียนรู้  ใช้เวลาในการเปิดกรงได้ในทันที
แนวคิดของธอร์นไดร์
          สกินเนอร์ (SKINER)"การเชื่อมโยงจะเกิดขึ้น ระหว่างรางวัลกับการตอบสนองไม่ใช่สิ่งเร้ากับการตอบสนองตามแนวคิดของธอร์นไดต์"
ได้ทำการทดลองโดย
1.นำหนูเข้าไปอยู่ในกล่อง Skinner box และเมื่อหนูกดคานที่อยู่ในกล่องจะมีอาหารให้กินพร้อมกับเสียงแกรก
2.หนูมาเฝ้ากดคานและวิ่งไปรับอาหาร
3.สกินเนอร์งดให้อาหารเมื่อหนูกดคานแต่มีเสียงแกรกดังเดิม
4.หนูกดคาน 2-3ครั้งเท่านั้น และเลิกกดไป
          การทดลอง
  ตัวอย่างงานทดลองครั้งนี้ สกินเกนอร์ ได้ใช้หนูเป็นตัวทดลอง เพื่อนศึกษาดูพฤติกรรมของหนู
แนวคิดของสกินเนอร์
          หลักการสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ก็คือการควบคุมการตอบสนองด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะในเรื่องที่ต้องการเพื่อให้เกิดเป็นนิสัยติดตัว ดังนั้นถ้าเราต้องการให้เด็กมีพฤติกรรมใหม่ในเรื่องใด ก็ควรให้การเสริมแรงพฤติกรรมนั้น เพื่อให้เด็กทำต่อไปจนเป็นนิสัย แต่ถ้าต้องการให้พฤติกรรมใดหายไปก็ควรลดการเสริมแรงพฤติกรรมนั้น ก็จะทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนานั้นหายไป

          การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์ เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง (Reinforcement) ว่ามีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร ยิ่งขึ้นด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ คือ การเสริมแรง หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ


          การนำหลักการมาประยุกต์ใช้

  1. การเสริมแรง และ การลงโทษ
  2. การปรับพฤติกรรม และ การแต่งพฤติกรรม
  3. การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป



วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 1 นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

คำถามท้ายบทที่1



1. MOOCs (Massive Open Online Courses) ถือเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด และเพราะอะไร

          ตอบ   Massive Open Online Course   เป็นนวัตกรรมทางการเรียนการสอน
                   เพราะ Mooc ถือว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาเพื่อการเรียนการสอน 

2.ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภทและแต่ล่ะประเภทมีข้อดีอย่าไร
          ตอบ  แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร                   ข้อดี เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคลให้มากขึ้น
นวัตกรรมการเรียนการสอน              
ข้อดี
 เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธี
การสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน                
ข้อดี
  สนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย 
4. นวัตกรรมการประเมินผล                
ข้อดี
 เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ                
ข้อดี
 ใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

3. สมมติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนและเพราะเหตุใดจึงเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น

          ตอบ   นวัตกรรมสื่อการสอน เพราะนวัตกรรมสื่อการสอนเป็นนวัตกรรมหลากหลายและเราสามารถวิเคราะห์บุคคลได้ เราก็สามารถเลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะกับบุคคลนั้นๆได้ ทั้งนี้จะได้ทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น  

4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครูจึงต้องเรียนรู้และเข้าใจเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

          ตอบ  เพราะถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจในนวัตกรรมแต่ละประเภทเราก็จะมีการนำนวัตกรรมนั้นไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

5. นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมอธิบายข้อดีและข้อจำกัด ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นๆมา 1 ประเภท

          ตอบ   คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด
                 ข้อดีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
         1.  คอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกและใหม่
                   2.  การใช้สี  ภาพลายเส้นที่แลดูคล้ายเคลื่อนไหว  ตลอดจนเสียงดนตรี  จะเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและเร้าใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้  ทำแบบฝึกหัด  หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้  เป็นต้น
                   3.  ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึกคะแนนและพฤติกรรมต่างๆ  ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนขั้นต่อไปได
                   4.  ความสามารถในการเก็บข้อมูลของเครื่อง  ทำให้สามารถนำมาใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็นอย่างดีโดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคนและแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
                   5.  ลักษณะของโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน  เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้า  สามารถเรียนไปตามความสามารถของตนโดยเฉพาะอย่างไม่รีบเร่งโดยไม่ต้องอายผู้อื่น  และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบคำถามผิด
             6.  เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการคบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิดเนื่องจากสามารถบรรลุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำมาใช้
                   ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
            1.  ถึงแม้ว่าขณะนี้ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และค่าใช้จ่ายต่างๆ  เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะลดลงมากแล้วก็ตามแต่การที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษาในบางสถานที่นั้นจำเป็นต้องมีการพิจารณากันอย่างรอบคอบเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายตลอดจนการดูแลรักษาด้วย
             2.  การออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์  เพื่อใช้ในการเรียนการสอนนั้นนับว่ายังมีน้อย  เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่นๆทำให้โปรแกรมบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวนและขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่าง  ๆ
             3.  ในขณะนี้ยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับเดียวกัน  เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกัน  เป็นต้นว่า  ซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของไอบีเอ็มไม่สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของแม็กคินทอชได้
           4.  การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น  นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา  สติปัญญาและความสามารถเป็นอย่างยิ่ง  ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
                5.  เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า  จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น  การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
               6.  ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่  อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอนทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้